ทาร์ตที่หลายๆ คนรู้จักหรือเคยได้ยินมา จริงๆ แล้วก็คือ “พาย” ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งตามหลักแล้วทาร์ตจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเภท “พายร่วน” ซึ่งนิยมนำมาสอดไส้ด้วยผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวต่างๆ เช่น สตรอเบอรี่ สับปะรด ผลไม้สดชนิดต่างๆ ที่เราคุ้นชิน หรือจะเป็นไส้คัสตาร์ดก็ดีไม่แพ้กัน
“ทาร์ตไข่” มาจากไหน?
ช่วงที่ทาร์ตไข่กำลังมีกระแส และเริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นนั้น เริ่มมาจาก เมืองกวางโจว (Guangzhou) ในประเทศจีน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งแรงบันดาลใจแรกเริ่มเกิดมาจากอิทธิพลทางด้านอาหารจากชาวยุโรปตะวันตกที่เข้ามาอาศัยและทำธุรกิจอยู่ในเมืองจีน ช่วงนั้นเองเศรษฐกิจในเมืองกวางโจวกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ในเชิงการค้ากับชาวยุโรป วัฒนธรรมการกิน ก็เริ่มผสมผสานแลกเปลี่ยนกันไป เหตุนี้เอง จึงทำให้มีห้างสรรพสินค้าตะวันตกแห่งหนึ่งในเมืองกวางโจวได้มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันสร้างสรรเมนูเพรสตรี้ต่างๆขึ้นมาในทุกๆสัปดาห์ ซึ่งทางเชฟห้างสรรพสินค้าแห่งนั้นเอง ก็ได้คิดค้นเมนูทาร์ตไข่นี้ขึ้นมา และได้รับกระแสตอบรับที่ดีกลับมาเป็นอย่างมาก จนได้กลายมาเป็นเมนูที่ได้ถูกนำมาวางขายประจำ
ซึ่งเมนูทาร์ตไข่ในตอนนั้น ก็เป็นการผสมผสานกันระหว่างการใช้แป้งพายที่มีส่วนผสมหลักคือไขมันจากหมูมาใช้ในการทำเปลือกทาร์ต และตัวไส้ที่ใช้นั้นก็มีลักษณะเหมือนพุดดิ้งไข่ ปัจจุบันนี้ทาร์ตไข่ชนิดนี้อาจจะไม่ได้หาทานได้ง่ายมากเท่าไรนัก แต่พื้นที่ที่ยังคงมีการขายอยู่คือที่กวางโจว และในประเทศฮ่องกง ส่วนในบ้านเราก็จะสามารถหาทานได้จากร้านแฟรนไชส์ของฮ่องกงที่มาเปิดในเมืองไทย

ภาพวาดเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง
ทาร์ตไข่แบบโปรตุเกส กับ ทาร์ตไข่กวางโจว และในประเทศฮ่องกง
ทุกวันนี้ ทาร์ตไข่ ในเมืองจีนจะมีขายอยู่ 2 สไตล์หลักๆ ด้วยกัน คือ สไตล์กวางโจว ซึ่งเหมือนกันกับฮ่องกง และอีกสไตล์คือ สไตล์มาเก๊า ซึ่งจะเป็นสไตล์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากโปรตุเกส แล้วทาร์ตไข่ 2 สไตล์ ต่างกันอย่างไร วันนี้เราพามาทำความรู้จักกัน
ความแตกต่างระหว่าง “ทาร์ตไข่สไตล์กวางโจว” และ “ทาร์ตไข่สไตล์โปรตุเกส”
ทาร์ตไข่แบบโปรตุเกส (Portuguese Egg Tart)
ทาร์ตไข่โปรตุเกสปัจจุบันเป็นทาร์ตชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งในร้าน KFC ก็ยังเป็นเมนูที่หาทานได้ในทุกๆสาขา แต่ถ้าถามถึงทาร์ตโปรตุเกสแบบแท้ๆเลยจะมีชื่อเรียกว่า “Pastel de nata” จะมีจุดเด่นคือตัวเปลือกทาร์ตจะเป็นการขึ้นรูปด้วยการใช้แป้ง “พายชั้น” กรุลงไปในถ้วยสำหรับเข้าเตาอบ และตัวพุดดิ้งไข่จะมีส่วนผสมของผงอบเชย (Cinnamon) ในการอบทาร์ตจบอบจนกระทั่งผิวของพุดดิ้งมีติดสีน้ำตาลดำไหม้เป็นจุดๆ และโรยด้วยผงอบเชยอีกครั้งหนึ่ง และรสชาติของทาร์ตชนิดนี้ จะไม่หวานและจะต้องไม่มีกลิ่นของวานิลา หรือเลมอนด้วย แต่ถ้าในเมืองไทยที่นิยมรับประทาน แทบจะไม่มีร้านใดเลยที่ใส่ผงอบเชยเหมือนต้นตำรับ เนื่องจากการใช้ผงอบเชยในอาหารประเภทขนมจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมในเมืองไทยเท่าไรนัก

ทาร์ตไข่สไตล์กวางโจว (Guangzhou Egg Tart)
ทาร์ตไข่สไตล์กวางโจว อาจหาทานได้ในฮ่องกงหรือในถิ่นฐานใกล้เคียง ทาร์ตไข่ชนิดนี้จุดเด่นคือจะใช้ “พายร่วน” ในการกรุเปลือกทาร์ต ซึ่งมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง น้ำตาล เกลือ และเนย และต้องผสมแค่พอเข้ากันเท่านั้น เพื่อให้เปลือกทาร์ตมีความกรอบร่วน ทานได้เข้ากันดีกับตัวพุดดิ้ง แต่ทาร์ตชนิดนี้ในปัจจุบันอาจจะค่อนข้างหาทานได้ยากเนื่องจากไม่เป็นที่นิยมมากนัก
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทรนของอาหารก็จะต้องถูกปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ และยังคงมีการปรับเปลี่ยนไปเสมอตามยุคสมัย ไม่ว่าจะในเชิงการค้าหรือเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
ในวันนี้เราก็รู้จัก ทาร์ตไข่ กันพอสมควรแล้ว ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ก่อนจะจบบทความนี้ไป แอดก็อยากจะขอพาเพื่อนๆ มาดู เครื่องกดทาร์ต กันหน่อย ซึ่งบอกเลยว่า ที่แอมเบอร์ เบค ของเรามีเครื่องกดทาร์ต ให้เลือกหลายแบบเลยล่ะ แถมยังมี บริการรับออกแบบแม่พิมพ์ อีกด้วย เพื่อจะได้เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ นำไปต่อยอดเปิดร้านทาร์ตไข่ของตนเอง ทำขายสร้างรายได้กันต่อไป จะมีตัวไหนบ้างเพื่อนๆ สามารถ คลิกที่นี่ ได้เลย
แหล่งที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Egg_tart
https://www.tasteatlas.com/pastel-de-nata
https://www.pngkey.com/maxpic/u2q8e6a9t4q8i1r5/